เงื่อนไขด้านคุณภาพอากาศภายในอาคาร
(Indoor Air Quality: IAQ)
คุณภาพอากาศภายในอาคาร ได้ถูกนำมาใช้เป็นเกณฑ์ที่สำคัญอีกเกณฑ์หนึ่งเพิ่อใช้ประกอบกับเกณฑ์ด้านการใช้พลังงานไฟฟ้า สำหรับใช้ตัดสินอาคารที่จะได้รับตราสัญลักษณ์ MEA ENERGY AWARDS ซึ่งคุณภาพอากาศภายในอาคารนั้นจะมีผลต่อสภาวะความสบาย รวมถึงสุขภาพอนามัย และประสิทธิภาพการทำงานของผู้ใช้งานในอาคารนั้นๆ โดยมีพารามิเตอร์ที่จะถูกนำมาใช้พิจารณาเพื่อแสดงถึงคุณภาพของอากาศภายในอาคารประกอบด้วย
- ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO)
- ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)
- ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5
- ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 10
- สารฟอร์มาลดีไฮด์ (CH2O)
- สารอินทรีย์ระเหยทั้งหมด (TVOC)
การตรวจประเมินคุณภาพอากาศในอาคารแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนหลัก คือ 1. การตรวจวัดเชิงพื้นที่ และ 2. การตรวจวัดเชิงเวลา
การตรวจวัดเชิงพื้นที่
เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของอาคารที่ทำการตรวจวัด การประเมินคุณภาพอากาศภายในอาคารจึงจำเป็นต้องตรวจวัดเชิงพื้นที่ โดยนำค่าเฉลี่ยที่ได้จากการตรวจวัดพื้นที่ต่างๆ ของอาคาร มาประเมินเป็นคะแนนของอาคารดังกล่าว การตรวจวัดเชิงพื้นที่ผู้ประเมินจะทำการเดินตรวจวัด โดยการสุ่มพื้นที่หลักในส่วนต่างๆ ของอาคาร ทั้งนี้พื้นที่สำคัญหลักของอาคารแต่ละประเภท มีดังนี้
ตารางที่ 1. พื้นที่หลักสำหรับการสำรวจของอาคารแต่ละประเภท
ประเภทอาคาร | พื้นที่หลักสำหรับการสำรวจ |
---|---|
1. โรงแรม |
|
2. ศูนย์การค้า/ห้างสรรพสินค้า |
|
3. โรงพยาบาล |
|
4. อาคารสำนักงาน |
|
5. โรงเรียน และ มหาวิทยาลัย |
|
6. ไฮเปอร์มาร์เก็ต |
|
7. ร้านสะดวกซื้อ |
|
หมายเหตุ: พื้นที่ที่ทำการตรวจวัด ต้องเป็นพื้นที่ปิด และมีการใช้ระบบปรับอากาศในพื้นที่ |
การตรวจวัดเชิงเวลา
การตรวจวัดเชิงเวลา เป็นการตรวจวัดคุณภาพอากาศภายในอาคาร ณ จุดที่เป็นตัวแทนของอาคารดังกล่าว โดยทำการตรวจวัดต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 7 วัน เพื่อให้ครอบคลุมการเปลี่ยนแปลงกิจกรรมต่างๆภายในพื้นที่ ทั้งนี้การตรวจวัดดังกล่าวจำเป็นต้องติดตั้งเครื่องมือตรวจวัดไว้ในพื้นที่ โดยจุดที่ติดตั้งควรเป็นพื้นที่ปิด ไม่มีการถ่ายเทของอากาศภายนอกตามธรรมชาติ (Natural ventilation) มีการใช้งานของคนในอาคารเป็นประจำ (High frequency) และมีแนวโน้มมีผู้ใช้งานพื้นที่ดังกล่าวเป็นจำนวนมาก (High population) โดยจุดดังกล่าว จะเป็นจุดที่ทางทีมตรวจวัด จะทำการตกลงร่วมกับทางผู้ดูแลอาคาร ค่าเฉลี่ยของการตรวจวัด 8 ชั่วโมงของการทำงาน (เลือกช่วงเวลาทำงานให้เหมาะสมกับกิจกรรมของอาคารแต่ละประเภท) ตลอดช่วงเวลา 1 สัปดาห์ จะถูกนำมาใช้ในการคำนวณ คะแนนการจัดการคุณภาพอากาศภายในอาคาร ของอาคารดังกล่าวต่อไป
เกณฑ์ตัดสิน
แนวทางการประเมินคุณภาพอากาศภายในอาคาร ของอาคารขนาดใหญ่ ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ได้แสดงไว้ดังต่อไปนี้
1. สารมลพิษอันตราย
สารมลพิษทางอากาศอันตรายภายในอาคาร เป็นสารมลพิษที่เกิดจากกิจกรรม หรือวัสดุที่ใช้ภายในอาคาร โดยสารดังกล่าวอาจส่งผลกระทบโดยตรงแบบเฉียบพลัน ต่อผู้ที่ได้รับสัมผัส หากได้รับปริมาณสูง ดังนั้นอาคารที่มีคุณภาพอากาศที่ดี จึงไม่ควรมีสารมลพิษอันตรายดังกล่าว ดังนั้นเพื่อเป็นการประเมิน ความเสี่ยงในการได้รับสัมผัสสารมลพิษทางอากาศอันตรายภายในอาคารเหล่านั้น การประเมินคะแนนจึงครอบคลุมถึงก๊าซมลพิษทางอากาศอันตรายที่มักพบในอาคารส่วนใหญ่ 3 ชนิด ประกอบไปด้วย (1) สารฟอร์มาลดีไฮด์ (CH2O) (2) คาร์บอนมอนออกไซด์ (CO) และ (3) สารอินทรีย์ระเหยทั้งหมด (TVOC) โดยเกณฑ์ในการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพของผู้ที่รับได้รับสัมผัส ได้แสดงไว้ในตารางที่ 2 ทั้งนี้การตรวจวัดสารมลพิษทางอากาศอันตราย จะทำการตรวจวัดเชิงพื้นที่เท่านั้น หากพบว่าค่าเฉลี่ยของสารใดสารหนึ่ง มีค่าสูงเกินกว่าค่าแนะนำ แสดงว่าอาคารดังกล่าวจำเป็นต้องมีการปรับปรุง
ตารางที่ 2. เกณฑ์ในการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพของผู้ที่รับได้รับสัมผัสสารมลพิษทางอากาศอันตรายภายในอาคาร
สารมลพิษทางอากาศอันตรายภายในอาคาร | ค่าแนะนำ |
---|---|
1. สารฟอร์มาลดีไฮด์ (CH2O) | < 0.1 ppm |
2. คาร์บอนมอนออกไซด์ (CO) | < 9 ppm |
3. สารอินทรีย์ระเหยทั้งหมด (TVOC) | < 1,000 ppb |
2. ฝุ่นละอองขนาดเล็ก
อนุภาคขนาดเล็กที่ลอยอยู่ภายในอากาศ มักเกิดได้จากทั้งกิจกรรมภายในอาคาร และจากการเดินทางของอนุภาคภายนอกอาคารเข้ามายังภายในอาคาร ทั้งนี้พารามิเตอร์ของฝุ่นละอองที่มักกำหนดให้ใช้ในการตรวจวัดคุณภาพอากาศภายในอาคารประกอบไปด้วย พารามิเตอร์ 2 ชนิดด้วยกันคือ PM10 (ฝุ่นละอองที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่า 10 µm) และ PM2.5 (ฝุ่นละอองที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่า 2.5 µm) ทั้งนี้เกณฑ์การตัดสินของฝุ่นละอองขนาดเล็ก จะเป็นไปตามค่าแนะนำของปริมาณฝุ่นละอองในอาคาร ดังแสดงในตารางที่ 3
ตารางที่ 3. ค่าแนะนำของปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กในอาคาร
ฝุ่นละอองขนาดเล็กภายในอาคาร | ค่าแนะนำ |
---|---|
1. PM10 (Particulate Matter with diameter less than 10 micrometers) | < 50 µg/m3 |
2. PM2.5 (Particulate Matter with diameter less than 2.5 micrometers) | < 35 µg/m3 |
3. การระบายอากาศ
การระบายอากาศภายในอาคาร เป็นสิ่งสำคัญมากต่อคุณภาพอากาศภายในอาคาร การะบายอากาศมีหน้าที่หลักในการนำอากาศดีจากภายนอกอาคารเข้ามายังภายในอาคาร และนำอากาศเสียภายในอาคารออกไปยังภายนอก นอกจากนี้ยังเป็นการเจือจางสารมลพิษทางอากาศที่อาจจะตกค้างอยู่ภายในอาคาร ให้อยู่ในระดับ ไม่เกิดส่งผลกระทบต่อสุขภาพ อย่างไรก็ตามการตรวจวัดการระบายอากาศนั้น สามารถกระทำได้ยาก ดังนั้นการระบายอากาศจึงมักอ้างอิงปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ที่ตกค้างอยู่ภายในอาคาร โดยเกิดจากการหายใจของผู้ที่ใช้อาคารดังกล่าว ทั้งนี้แนวทางการประเมินปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่แนะนำในอาคาร ได้แสดงไว้ดังแสดงในตารางที่ 4
ตารางที่ 4. เกณฑ์การให้คะแนนของการระบายอากาศ
การระบายอากาศ | ค่าแนะนำ |
---|---|
1. CO2 (Carbon dioxide) | < 1100 ppm |
หมายเหตุ: ค่าเฉลี่ยที่ตรวจวัดได้จะถูกนำมาปรับเป็นทศนิยม 1 ตำแหน่ง ในการคำนวณคะแนนของแต่ละช่วง |
เงื่อนไขประกอบการพิจารณาเพิ่มเติม
นอกจากเงื่อนไขทางด้านการใช้พลังงานไฟฟ้า (MEA Index) และเงื่อนไขด้านคุณภาพอากาศภายในอาคาร ทั้ง 2 เงื่อนไขดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีเงื่อนไขเพิ่มเติมที่ถูกนำมาใช้ประกอบการพิจารณาเพื่อมอบตราสัญลักษณ์ MEA ENERGY AWARDS ให้กับอาคารที่เข้าร่วมโครงการได้แก่
- อุณหภูมิ และความชื้น
- ค่าความส่องสว่าง
อุณหภูมิและความชื้น
Measurement type | Winter Summer (˚C) | Summer (˚C) |
---|---|---|
Dry bulb at 30% RH | 20.5 – 25.5 | 24.5 – 28.0 |
Dry bulb at 50% RH | 20.3 – 23.6 | 22.8 – 26.1 |
Dry bulb at 60% RH | 20.0 – 24.0 | 23.0 – 25.5 |
ค่าความส่องสว่าง
ประเภทของพื้นที่และกิจกรรม | Winter Summer (˚C) |
---|---|
ภายในอาคารทั่วไป | ความสว่าง (Lux) |
โถงทางเข้าอาคาร/ทางเดิน | 100 |
โถงนั่งพัก | 200 |
ห้องอาหารทั่วไปภายในอาคาร | 200 |
พื้นที่ทางเดินภายในอาคาร | 200 |
บันได บันไดเลื่อน ทางเลื่อน | 150 |
พื้นที่ขนถ่ายสินค้าภายในอาคาร | 150 |
สำนักงาน | ความสว่าง (Lux) |
บริเวณทั่วไป บริเวณประชาสัมพันธ์ | 300 |
บริเวณทำงาน | 300 |
บริเวณที่มีการอ่าน และเขียนหนังสือ | 500 |
ห้องประชุม | 300 |
พื้นที่เก็บเอกสาร ถ่ายเอกสาร | 300 |
ห้องน้ำ ห้องสุขา | 300 |
โรงแรม | ความสว่าง (Lux) |
พื้นที่รับแขก/ห้องล็อบบี้/บริเวณต้อนรับ | 200 |
พื้นที่จัดงาน จัดประชุม | 200-300 |
ห้องออกกำลังกาย | 200 |
ห้องน้ำ ห้องสุขา | 300 |
ศูนย์การค้า/ห้างสรรพสินค้า | ความสว่าง (Lux) |
ห้องน้ำ ห้องสุขา* | 200 |
พื้นที่ทั่วไปในอาคาร | 200 |
แสงสว่างทั่วไปในร้านค้า | 500-1,000 |
ส่องเน้นในร้านค้า | 1,500-3,000 |
แสงสว่างทั่วไปในตู้กระจก | 1,000-2,000 |
ส่องเน้นในตู้กระจก | 5,000-10,000 |
โรงพยาบาล | ความสว่าง (Lux) |
พื้นที่ผู้ป่วยภายนอก | 200 |
ห้องพักคนไข้ (อ้างอิงมาตรฐาน IESNA) | 50 |
ห้องตรวจคนไข้ทั่วไป | 500 |
ห้องปฐมพยาบาล | 300 |
ร้านค้าปลีก/ไฮเปอร์มาร์เก็ต | ความสว่าง (Lux) |
พื้นที่ทั่วไป | 200 |
พื้นที่ขาย | 200-300 |
ห้องอาหารทั่วไปภายในอาคาร | 200 |
โรงเรียน/สถานศึกษา/มหาวิทยาลัย | ความสว่าง (Lux) |
ห้องน้ำ ห้องสุขา* | 100 |
ช่องทางเดินภายใน | 200 |
ห้องสมุด ห้องเรียน* | 300 |
ห้องประชุม* | 300 |