รูปแบบการดำเนินโครงการ
สำหรับโครงการฯ ในปีที่ 6 นอกจากจะมุ่งเน้นด้านประสิทธิภาพการใช้พลังงานของอาคารโดยใช้ หลักเกณฑ์มาตรฐาน MEA Index (Management of Energy Achievement Index) เป็นตัวชี้วัดระดับการใช้พลังงานที่ได้พัฒนาขึ้นใหม่แล้ว ทาง กฟน. ยังให้ความสำคัญกับด้านคุณภาพของอากาศภายในอาคารเพิ่มด้วย ซึ่งคุณภาพของอากาศภายในอาคารนี้เป็นสิ่งที่ส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพอนามัย และประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ใช้งานในอาคารเป็นอย่างมาก ทางโครงการฯ จึงได้เพิ่ม หลักเกณฑ์การประเมินทางด้านคุณภาพอากาศภายในอาคาร (Indoor Air Quality : IAQ) ที่มีความเหมาะสมต่อผู้ใช้อาคารตามหลักมาตรฐานสากล และเป็นที่ยอมรับได้ในระดับประเทศ โดยได้นำมาใช้เป็นเกณฑ์มาตรฐานสำหรับพิจารณาตัดสินอาคารที่จะได้รับตราสัญลักษณ์อาคารประหยัดพลังงาน MEA ENERGY AWARDS ซึ่งจะต้องผ่านเกณฑ์ประเมินมาตรฐานในรูปแบบใหม่นี้ ทั้ง 2 เงื่อนไขของโครงการฯ
ทั้งนี้ การพิจารณาตัดสินในด้านประสิทธิภาพการใช้พลังงานของอาคารจะพิจารณาที่พลังงานไฟฟ้าเป็นสำคัญ เนื่องจาก กฟน. เป็นผู้จำหน่ายไฟฟ้า และอาคารส่วนใหญ่มีการใช้พลังงานหลัก คือ พลังงานไฟฟ้า เกณฑ์มาตรฐานของโครงการฯ เพื่อใช้ประเมินประสิทธิภาพพลังงานจึงได้จัดทำขึ้นใหม่โดยไม่ซ้ำซ้อนกับเกณฑ์ที่มีใช้อยู่ในประเทศไทย ทั้งนี้ได้มีการศึกษาทบทวนเพื่อปรับปรุงเกณฑ์มาตรฐานดังกล่าวให้สอดคล้องกับลักษณะการใช้งานและเทคโนโลยีปัจจุบัน นอกจากนี้ในการดำเนินการปีที่ 6 ได้มีการจัดทำเกณฑ์มาตรฐานประสิทธิภาพการใช้พลังงานให้ครอบคลุมถึงอาคารนอกข่ายควบคุมตามเกณฑ์ของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงานเพิ่มเติมด้วย สำหรับเกณฑ์คุณภาพอากาศภายในอาคาร ทางโครงการฯ จะมุ่งเน้นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพารามิเตอร์ต่างๆ เช่น CO, CO2, PM2.5, PM10, TVOCs, Formaldehyde อ้างอิงกับค่ามาตรฐานของทั้งในและต่างประเทศ เช่น กรมควบคุมมลพิษ, กรมอนามัย, ASHRAE Standard, Singapore Standard, Hong Kong Standard เป็นต้น.
ทั้งนี้ การพิจารณาตัดสินในด้านประสิทธิภาพการใช้พลังงานของอาคารจะพิจารณาที่พลังงานไฟฟ้าเป็นสำคัญ เนื่องจาก กฟน. เป็นผู้จำหน่ายไฟฟ้า และอาคารส่วนใหญ่มีการใช้พลังงานหลัก คือ พลังงานไฟฟ้า เกณฑ์มาตรฐานของโครงการฯ เพื่อใช้ประเมินประสิทธิภาพพลังงานจึงได้จัดทำขึ้นใหม่โดยไม่ซ้ำซ้อนกับเกณฑ์ที่มีใช้อยู่ในประเทศไทย ทั้งนี้ได้มีการศึกษาทบทวนเพื่อปรับปรุงเกณฑ์มาตรฐานดังกล่าวให้สอดคล้องกับลักษณะการใช้งานและเทคโนโลยีปัจจุบัน นอกจากนี้ในการดำเนินการปีที่ 6 ได้มีการจัดทำเกณฑ์มาตรฐานประสิทธิภาพการใช้พลังงานให้ครอบคลุมถึงอาคารนอกข่ายควบคุมตามเกณฑ์ของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงานเพิ่มเติมด้วย สำหรับเกณฑ์คุณภาพอากาศภายในอาคาร ทางโครงการฯ จะมุ่งเน้นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพารามิเตอร์ต่างๆ เช่น CO, CO2, PM2.5, PM10, TVOCs, Formaldehyde อ้างอิงกับค่ามาตรฐานของทั้งในและต่างประเทศ เช่น กรมควบคุมมลพิษ, กรมอนามัย, ASHRAE Standard, Singapore Standard, Hong Kong Standard เป็นต้น.