ด้านคุณภาพอากาศภายในอาคาร (IAQ)

เงื่อนไขด้านคุณภาพอากาศภายในอาคาร

(Indoor Air Quality: IAQ)

คุณภาพอากาศภายในอาคาร ได้ถูกนำมาใช้เป็นเกณฑ์ที่สำคัญอีกเกณฑ์หนึ่งเพิ่อใช้ประกอบกับเกณฑ์ด้านการใช้พลังงานไฟฟ้า สำหรับใช้ตัดสินอาคารที่จะได้รับตราสัญลักษณ์ MEA ENERGY AWARDS ซึ่งคุณภาพอากาศภายในอาคารนั้นจะมีผลต่อสภาวะความสบาย รวมถึงสุขภาพอนามัย และประสิทธิภาพการทำงานของผู้ใช้งานในอาคารนั้นๆ โดยมีพารามิเตอร์ที่จะถูกนำมาใช้พิจารณาเพื่อแสดงถึงคุณภาพของอากาศภายในอาคารประกอบด้วย

  1. ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO)
  2. ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)
  3. ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5
  4. ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 10
  5. สารฟอร์มาลดีไฮด์ (CH2O)
  6. สารอินทรีย์ระเหยทั้งหมด (TVOC)

การตรวจประเมินคุณภาพอากาศในอาคารแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน

การตรวจวัดเชิงพื้นที่

เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของอาคารที่ทำการตรวจวัด การประเมินคุณภาพอากาศภายในอาคารจึงจำเป็นต้องตรวจวัดเชิงพื้นที่ โดยนำค่าเฉลี่ยที่ได้จากการตรวจวัดพื้นที่ต่างๆ ของอาคาร มาประเมินเป็นคะแนนของอาคารดังกล่าว การตรวจวัดเชิงพื้นที่ผู้ประเมินจะทำการเดินตรวจวัด โดยการสุ่มพื้นที่หลักในส่วนต่างๆ ของอาคาร ทั้งนี้พื้นที่สำคัญหลักของอาคารแต่ละประเภท มีดังนี้

พื้นที่หลักสำหรับการสำรวจของอาคารแต่ละประเภท

พื้นที่หลักสำหรับการสำรวจ

  • ล๊อบบี้
  • ร้านอาหาร
  • พื้นที่สำนักงาน
  • ห้องพัก

พื้นที่หลักสำหรับการสำรวจ

  • พื้นที่จัดแสดงสินค้า
  • พื้นที่ทางเดิน
  • พื้นที่ส่วนร้านอาหาร
  • พื้นที่พักผ่อน

พื้นที่หลักสำหรับการสำรวจ

  • พื้นที่ผู้ป่วยนอก
  • ห้องฉุกเฉิน
  • ห้อง ICU

พื้นที่หลักสำหรับการสำรวจ

  • พื้นที่ส่วนกลาง
  • พื้นที่สำนักงาน

พื้นที่หลักสำหรับการสำรวจ

  • ห้องเรียน
  • ห้องสมุด
  • ห้องคอมพิวเตอร์
  • สำนักงาน

พื้นที่หลักสำหรับการสำรวจ

  • พื้นที่ขาย
  • พื้นที่ส่วนร้านอาหาร

พื้นที่หลักสำหรับการสำรวจ

  • พื้นที่ขาย

พื้นที่หลักสำหรับการสำรวจ

  • พื้นที่ขาย

หมายเหตุ: พื้นที่ที่ทำการตรวจวัด ต้องเป็นพื้นที่ปิด และมีการใช้ระบบปรับอากาศในพื้นที่


อย่างไรก็ตามในการสำรวจเชิงพื้นที่นั้น จะทำการสำรวจเฉพาะพื้นที่ปิด ที่มีการใช้เครื่องปรับอากาศในพื้นที่เท่านั้น เนื่องจากพื้นที่กึ่งปิด หรือพื้นที่เปิด มีอากาศถ่ายเทสะดวกจากภายนอก จะไม่สามารถควบคุมคุณภาพอากาศภายในพื้นที่ได้

การตรวจวัดเชิงเวลา

การตรวจวัดเชิงเวลา เป็นการตรวจวัดคุณภาพอากาศภายในอาคาร ณ จุดที่เป็นตัวแทนของอาคารดังกล่าว โดยทำการตรวจวัดต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 7 วัน เพื่อให้ครอบคลุมการเปลี่ยนแปลงกิจกรรมต่างๆภายในพื้นที่ ทั้งนี้การตรวจวัดดังกล่าวจำเป็นต้องติดตั้งเครื่องมือตรวจวัดไว้ในพื้นที่ โดยจุดที่ติดตั้งควรเป็นพื้นที่ปิด ไม่มีการถ่ายเทของอากาศภายนอกตามธรรมชาติ (Natural ventilation) มีการใช้งานของคนในอาคารเป็นประจำ (High frequency) และมีแนวโน้มมีผู้ใช้งานพื้นที่ดังกล่าวเป็นจำนวนมาก (High population) โดยจุดดังกล่าว จะเป็นจุดที่ทางทีมตรวจวัด จะทำการตกลงร่วมกับทางผู้ดูแลอาคาร ค่าเฉลี่ยของการตรวจวัด 8 ชั่วโมงของการทำงาน (เลือกช่วงเวลาทำงานให้เหมาะสมกับกิจกรรมของอาคารแต่ละประเภท) ตลอดช่วงเวลา 1 สัปดาห์ จะถูกนำมาใช้ในการคำนวณ คะแนนการจัดการคุณภาพอากาศภายในอาคาร ของอาคารดังกล่าวต่อไป

เกณฑ์ตัดสิน

แนวทางการประเมินคุณภาพอากาศภายในอาคาร ของอาคารขนาดใหญ่ ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ได้แสดงไว้ดังต่อไปนี้

1. สารมลพิษอันตราย

สารมลพิษทางอากาศอันตรายภายในอาคาร เป็นสารมลพิษที่เกิดจากกิจกรรม หรือวัสดุที่ใช้ภายในอาคาร โดยสารดังกล่าวอาจส่งผลกระทบโดยตรงแบบเฉียบพลัน ต่อผู้ที่ได้รับสัมผัส หากได้รับปริมาณสูง ดังนั้นอาคารที่มีคุณภาพอากาศที่ดี จึงไม่ควรมีสารมลพิษอันตรายดังกล่าว ดังนั้นเพื่อเป็นการประเมิน ความเสี่ยงในการได้รับสัมผัสสารมลพิษทางอากาศอันตรายภายในอาคารเหล่านั้น การประเมินคะแนนจึงครอบคลุมถึงก๊าซมลพิษทางอากาศอันตรายที่มักพบในอาคารส่วนใหญ่ 3 ชนิด ประกอบไปด้วย (1) สารฟอร์มาลดีไฮด์ (CH2O) (2) คาร์บอนมอนออกไซด์ (CO) และ (3) สารอินทรีย์ระเหยทั้งหมด (TVOC) โดยเกณฑ์ในการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพของผู้ที่รับได้รับสัมผัส ได้แสดงไว้ในตารางที่ 2 ทั้งนี้การตรวจวัดสารมลพิษทางอากาศอันตราย จะทำการตรวจวัดเชิงพื้นที่เท่านั้น หากพบว่าค่าเฉลี่ยของสารใดสารหนึ่ง มีค่าสูงเกินกว่าค่าแนะนำ แสดงว่าอาคารดังกล่าวจำเป็นต้องมีการปรับปรุง

ตารางที่ 2. เกณฑ์ในการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพของผู้ที่รับได้รับสัมผัสสารมลพิษทางอากาศอันตรายภายในอาคาร

สารมลพิษทางอากาศอันตรายภายในอาคาร ค่าแนะนำ
1. สารฟอร์มาลดีไฮด์ (CH2O) < 0.1 ppm
2. คาร์บอนมอนออกไซด์ (CO) < 9 ppm
3. สารอินทรีย์ระเหยทั้งหมด (TVOC) < 1,000 ppb

2. ฝุ่นละอองขนาดเล็ก

อนุภาคขนาดเล็กที่ลอยอยู่ภายในอากาศ มักเกิดได้จากทั้งกิจกรรมภายในอาคาร และจากการเดินทางของอนุภาคภายนอกอาคารเข้ามายังภายในอาคาร ทั้งนี้พารามิเตอร์ของฝุ่นละอองที่มักกำหนดให้ใช้ในการตรวจวัดคุณภาพอากาศภายในอาคารประกอบไปด้วย พารามิเตอร์ 2 ชนิดด้วยกันคือ PM10 (ฝุ่นละอองที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่า 10 µm) และ PM2.5 (ฝุ่นละอองที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่า 2.5 µm) ทั้งนี้เกณฑ์การตัดสินของฝุ่นละอองขนาดเล็ก จะเป็นไปตามค่าแนะนำของปริมาณฝุ่นละอองในอาคาร ดังแสดงในตารางที่ 3

ตารางที่ 3. ค่าแนะนำของปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กในอาคาร

ฝุ่นละอองขนาดเล็กภายในอาคาร ค่าแนะนำ
1. PM10 (Particulate Matter with diameter less than 10 micrometers) < 50 µg/m3
2. PM2.5 (Particulate Matter with diameter less than 2.5 micrometers) < 35 µg/m3

หมายเหตุ: ค่าเฉลี่ยที่ตรวจวัดได้จะถูกนำมาปรับเป็นทศนิยม 1 ตำแหน่ง ในการคำนวณคะแนนของแต่ละช่วง

3. การระบายอากาศ

การระบายอากาศภายในอาคาร เป็นสิ่งสำคัญมากต่อคุณภาพอากาศภายในอาคาร การะบายอากาศมีหน้าที่หลักในการนำอากาศดีจากภายนอกอาคารเข้ามายังภายในอาคาร และนำอากาศเสียภายในอาคารออกไปยังภายนอก นอกจากนี้ยังเป็นการเจือจางสารมลพิษทางอากาศที่อาจจะตกค้างอยู่ภายในอาคาร ให้อยู่ในระดับ ไม่เกิดส่งผลกระทบต่อสุขภาพ อย่างไรก็ตามการตรวจวัดการระบายอากาศนั้น สามารถกระทำได้ยาก ดังนั้นการระบายอากาศจึงมักอ้างอิงปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ที่ตกค้างอยู่ภายในอาคาร โดยเกิดจากการหายใจของผู้ที่ใช้อาคารดังกล่าว ทั้งนี้แนวทางการประเมินปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่แนะนำในอาคาร ได้แสดงไว้ดังแสดงในตารางที่ 4

ตารางที่ 4. เกณฑ์การให้คะแนนของการระบายอากาศ

การระบายอากาศคาร ค่าแนะนำ
1. CO2 (Carbon dioxide) < 1100 ppm3

หมายเหตุ: ค่าเฉลี่ยที่ตรวจวัดได้จะถูกนำมาปรับเป็นทศนิยม 1 ตำแหน่ง ในการคำนวณคะแนนของแต่ละช่วง

เงื่อนไขประกอบการพิจารณาเพิ่มเติม

นอกจากเงื่อนไขทางด้านการใช้พลังงานไฟฟ้า (MEA Index) และเงื่อนไขด้านคุณภาพอากาศภายในอาคาร ทั้ง 2 เงื่อนไขดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีเงื่อนไขเพิ่มเติมที่ถูกนำมาใช้ประกอบการพิจารณาเพื่อมอบตราสัญลักษณ์ MEA ENERGY AWARDS ให้กับอาคารที่เข้าร่วมโครงการได้แก่

  1. อุณหภูมิ และความชื้น
  2. ค่าความส่องสว่าง

อุณหภูมิและความชื้น

Measurement type Winter Summer (˚C) Summer (˚C)
Dry bulb at 30% RH 20.5 – 25.5 24.5-28.0
Dry bulb at 50% RH 20.3 – 23.6 22.8-26.1
Dry bulb at 60% RH 20.0 – 24.0 23.0-25.5

ค่าความส่องสว่าง

(อ้างอิง สมาคมไฟฟ้าแสงสว่างและตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร)

ประเภทของพื้นที่และกิจกรรม ค่ามาตรฐาน
ภายในอาคารทั่วไป ความสว่าง (Lux)
โถงทางเข้าอาคาร/ทางเดิน 100
โถงนั่งพัก 200
ห้องอาหารทั่วไปภายในอาคาร 200
พื้นที่ทางเดินภายในอาคาร 200
บันได บันไดเลื่อน ทางเลื่อน 150
พื้นที่ขนถ่ายสินค้าภายในอาคาร 150
สำนักงาน ความสว่าง (Lux)
บริเวณทั่วไป บริเวณประชาสัมพันธ์ 300
บริเวณทำงาน 300
บริเวณที่มีการอ่าน และเขียนหนังสือ 500
ห้องประชุม 300
พื้นที่เก็บเอกสาร ถ่ายเอกสาร 300
ห้องน้ำ ห้องสุขา 300
โรงแรม ความสว่าง (Lux)
พื้นที่รับแขก/ห้องล็อบบี้/บริเวณต้อนรับ 200
พื้นที่จัดงาน จัดประชุม 200-300
ห้องออกกำลังกาย 200
ห้องน้ำ ห้องสุขา 300
ศูนย์การค้า/ห้างสรรพสินค้า ความสว่าง (Lux)
ห้องน้ำ ห้องสุขา* 200
พื้นที่ทั่วไปในอาคาร 200
แสงสว่างทั่วไปในร้านค้า 500-1000
ส่องเน้นในร้านค้า 1,500-3,000
แสงสว่างทั่วไปในตู้กระจก 1000-2000
ส่องเน้นในตู้กระจก 5,000-10,000
โรงพยาบาล ความสว่าง (Lux)
พื้นที่ผู้ป่วยภายนอก 200
ห้องพักคนไข้ (อ้างอิงมาตรฐาน IESNA) 50
ห้องตรวจคนไข้ทั่วไป 500
ห้องปฐมพยาบาล 300
ร้านค้าปลีก/ไฮเปอร์มาเก็ต/ร้านกาแฟ ความสว่าง (Lux)
พื้นที่ทั่วไป 200
พื้นที่ขาย 300–500
ห้องอาหารทั่วไปภายในอาคาร 200
โรงเรียน/สถานศึกษา/มหาวิทยาลัย ความสว่าง (Lux)
ห้องน้ำ ห้องสุขา* 100
ช่องทางเดินภายใน 200
ห้องสมุด ห้องเรียน* 300
ห้องประชุม* 300
Scroll to Top